ในโลกของเรานั้นล้วนก็มรปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดขึ้นมากมาก ซึ่ง Aurora Polaris ปรากฎการณ์แสงเหนือ แสงใต้ นี้ก็เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามอีกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ อีกทั้งในสมัยอดีตผู้คนเชื่อกันว่า แสงออร่านี้คือแสงที่เกิดจากดวงวิญญาณที่ต้องการจะติดตามสื่อสารกับพวกเขา ..
Aurora Polaris ปรากฎการณ์แสงเหนือ แสงใต้
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม พบได้เฉพาะบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เช่น แคนาดา รัฐอลาสก้าของสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย? แต่บางครั้งอาจจะปรากฏให้เห็นในที่ซึ่งอยู่ละติจูดต่ำลงมาถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือเรียกว่าแสงเหนือ (northern lights) หรือเรียกเป็นทางการว่าแสงออโรรา บอรีเอลิส (aurora borealis)? แต่ถ้าเกิดใกล้ขั้วโลกใต้จะเรียกว่าแสงใต้? (southern lights) หรือแสงออโรรา ออสตราลิส (aurora australis) ?
?อริสโตเติล ปรัชญาเมธีชาวกรีก คนแรกที่อธิบายเกี่ยวกับ?ปรากฏการณ์ธรรมชาติ นี้!
ผู้แรกที่พยายามบอกว่าแสงเหนือแสงใต้เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติคือ อริสโตเติล ปรัชญาเมธีชาวกรีก ซึ่งยืนยันว่าแสงเหนือไม่ใช่ปรากฏการณ์จากท้องฟ้า? แต่เป็นไอระเหยจากโลกแล้วเกิดการสับดาปกับชั้นบรรยากาศ? ถึงคำอธิบายนี้จะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็ต้องยกความดีความชอบให้แก่ท่านในความพยายามที่จะให้มนุษย์คิดอย่างวิทยาศาสตร์มากกว่าเชื่ออย่างงมงาย? เมื่อวิทยาการต่าง ๆ เจริญรุดหน้ามากขึ้นในศตวรรษที่ 20? ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์แสงประหลาดนี้ได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก
Aurora Polaris ปรากฎการณ์แสงเหนือ แสงใต้ ทดลองได้จริง โดย?นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์?คริสเชียน เบิร์กแลนด์ ( Kristian Birkeland)?
ในปี?1896?ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับแสงออโรรามาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์? Kristian Birkeland ?- คริสเชียน เบิร์กแลนด์?(1867-1917)?โดยเขาเสนอว่าแสงออโรราเกิดจากอนุภาคมีประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงมันเข้าสู่บริเวณขั้วโลก?จริงๆแล้วเขาไม่ใช่คนแรกที่เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาคจากดวงอาทิตย์?แต่ผลงานของเขาโดดเด่นเนื่องจากเขาสามารถทำการทดลองในเรื่องนี้ได้?
Advertisement
สีสวยๆ ของ?Aurora Polaris ปรากฎการณ์แสงเหนือแสงใต้
แสงเหนือแสงใต้มีสีสันต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่พบจะมีสีเขียวหรือสีขาว สีอื่นที่พบได้บ้าง เช่นสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง นอกจากนี้สีของแสงออโรราขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สที่ถูกอิเลกตรอนชน? สีที่เห็นส่วนใหญ่คือสีเขียวหรือขาวอมเขียว ซึ่งเกิดจากอิเลกตรอนชนกับอะตอมของแก๊สออกซิเจนที่ชั้นความสูงไม่มาก บางครั้งจะเห็นสีแดงที่ปลายด้านล่าง เกิดจากอิเลกตรอนกระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนหรือไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ต่ำลงมา ??
-?อิเลกตรอนที่กระทบกับโมเลกุลของไนโตรเจนที่อยู่สูงสุดชั้นบรรยากาศ ในช่วงเวลาสนธยาใกล้ค่ำหรือใกล้รุ่งอาจทำให้เกิดแสงออโรราสีน้ำเงินหรือม่วง
-?พายุอิเลกตรอนที่รุนแรงอาจชนกับอะตอมของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ เกิดเป็นสีแดงฉานเต็มท้องฟ้า?
Aurora Polaris ?แสงออโรรา กับความเชื่อ ..
คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนโบราณมาช้านาน ในสมัยโบราณมีวามเชื่อกันว่าปรากฏการณ์แสงออโรรานั้นมาจากพลังอำนาจจากพระผู้เป็นเจ้า เรื่องราวเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ หรือเป็นเรื่องของจิตวิญญาณซึ่งจะแตกต่างกันไปตามถิ่นฐานที่ได้เห็นแสงออโรร่า
– ทวีปอเมริกา : ผู้คนที่เชื่อกันว่า แสงออโรร่า คือแสงที่เกิดจากดวงวิญญาณที่พวกเขาพยายามจะติดต่อด้วย
– นอร์เวย์และชาวไวกิ้ง : เชื่อกันว่า แสงออโรร่าคือวิญญาณของสาวพรหมจารีที่มาร่ายร่ำท่ามกลางรัตติกาล
– ชาวเอสกิโมและชนพื้นถิ่นทางตอนเหนือของแคนนาดา : เชื่อกันว่า เป็นวิญญาณของผู้ตายที่พยายามติดต่อกับบรรดาญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่บนพื้นโลก
สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา
ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้- ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
- ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
- ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
- ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด
- ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
สถานที่ | ความถี่ในการปรากฏ |
เมือง Andenes ประเทศนอร์เวย์ | เกือบทุกคืนที่ฟ้าโล่ง |
เมือง Fairbanks รัฐอลาสกา | 5 – 10 ครั้งต่อเดือน |
เมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์ | 3 คืนต่อเดือน |
สกอตแลนด์เหนือ | เดือนละครั้ง |
พรมแดนสหรัฐ/แคนาดา | 2 – 4 ครั้งต่อปี |
เม็กซิโก และ เมดิเตอเรเนียน | 1 – 2 ครั้งใน 10 ปี |
ประเทศตอนใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียน | 1 – 2 ครั้งในศตวรรษ |
แถบศูนย์สูตร | 1 ครั้งในรอบ 2000 ปี |
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2_(%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น