ข้อสอบบทที่3

ข้อสอบบทที่3
1.  การหาอายุสัมบูรณ์ของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ทางธรณีวิทยาใช้วิธีการใด
1.    วิธีการหาอายุทางกัมมันตรังสี
2.    ตรวจสอบเปรียบเทียบกับฟอสซิลอื่นๆ
3.    ตรวจสอบจากลำดับชั้นหินและความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา
4.    วิธีการทางรังสีเอกซ์
2.  ทดลองหยดกรดเกลือเจือจางลงบนหินชนิดหนึ่งแล้วจะเกิดฟองขึ้น  แสดงว่าเป็นหินชนิดใด
1.    หินทราย                                                                            2.    หินดินดาน
3.    หินปูน                                                                               4.    หินแกรนิต
3.  ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบในหินชนิดใด
1.    หินทราย                                                                            2.    หินปูน
3.    หินบะซอลต์                                                                     4.    หินดินดาน
4.  ปรากฏการณ์ใดที่สนับสนุน  “ทฤษฎีบิกแบง”
1.    การชนกันของดาวหางกับดาวเคราะห์                       2.    การขยายตัวของเอกภพ
3.    การเกิดลมสุริยะ                                                              4.    การยุบตัวของดาวฤกษ์
5.  หลังเกิดบิกแบงปริมาณอนุภาคกับปริมาณปฏิอนุภาคควรเป็นตามข้อใด  จึงเกิดกาแล็กซีและดาวต่าง ๆ
ขึ้นดังที่เป็นอยู่
1.    มีปริมาณเท่ากัน                                                               2.    อนุภาคมีปริมาณมากกว่า
3.    ปฏิอนุภาคมีปริมาณมากกว่า                                         4.    เป็นไปได้ทุกข้อ
6.  ในวิวัฒนาการของดาวฤกษ์  ช่วงเวลาในข้อใดเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุด
1.    ดาวยักษ์แดง                                                                     2.    ดาวแคระขาว
3.    ดาวแคระดำ                                                                      4.    เนบิวลา7.  ปฏิกิริยาในข้อใดเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์
1.    ฟิวชัน                                                                                2.    ฟิชชัน
3.    ซูเปอร์โนวา                                                                      4.    ออโรรา
8.  ดาวฤกษ์ชนิดใดในข้อต่อไปนี้มีอุณหภูมิผิวสูงที่สุด
1.    ดาวที่มีสีแดง                                                                    2.    ดาวที่มีสีเหลือง
3.    ดาวที่มีสีน้ำเงิน                                                                4.    ดาวที่มีสีขาว
9.  ในระบบสุริยะ  แถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในบริเวณใด
1.    อยู่ระหว่างแถบดาวเคราะห์ชั้นในกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
2.    อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นในกับเขตของดาวหาง
3.    อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นนอกกับเขตของดาวหาง
4.    อยู่แถบนอกสุดของระบบสุริยะ
10.  ข้อใดไม่ได้เกิดจากพายุสุริยะ
1.    การเกิดแสงเหนือแสงใต้                                               2.    วงจรอิเล็กทรอนิกส์บนดาวเทียมเสียหาย
3.    การเกิดฝนดาวตก                                                            4.    การติดต่อสื่อสารโดยวิทยุคลื่นสั้นขัดข้อง










เฉลย
1.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          การหาอายุสัมบูรณ์เป็นการคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์  จึงเป็นวิธีบอกอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างแน่นอน
2.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          การหยดกรดเกลือ  (HCl)  เจือจางลงบนหินชนิดหนึ่งแล้วทำปฏิกิริยาเคมีเป็นฟองก๊าซ  แสดงว่าหินนั้นเป็นหินปูน  (CaCO3)  เนื่องจากสารละลายกรดทุกชนิดทำปฏิกิริยากับหินปูนจะเกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในชั้นหินทราย  และหินทรายแป้ง  ซึ่งเป็นหินที่อยู่ในยุคของยุคไทรแอสลิกตอนปลาย  โดยมีอายุประมาณ  200 – 100  ล้านปีที่ผ่านมาแล้ว
4.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          ปรากฏการณ์ที่สนับสนุน  “ทฤษฎีบิกแบง”  มีด้วยกัน  2  อย่าง  คือ
  1. การขายของเอกภพ  ซึ่งเป็นการศึกษาและค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน  ชื่อ  เอ็ดวิน  พี  ฮับเบิล
  2. อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพปัจจุบันลดลงเหลือ  2.73  องศาเคลวิน
5.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          ขณะที่เกิดบิกแบง  จะมีเนื้อสารที่เกิดในลักษณะอนุภาคพื้นฐาน  คือ  ควาร์ก  อิเล็กตรอน  นิวทริโอ  และโฟตอน  ซึ่งเป็นพลังงาน  โดยขณะที่เกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิ-อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม  หลังจากที่บิกแบงแล้วอนุภาคจะมีมากกว่าปฏิอนุภาค  นอกจากกลายเป็นพลังงานแล้วยังมีอนุภาคบางส่วนที่เหลือก่อกำเนิดเป็นสาร  ทำให้รวม ตัวเป็นกาแล็กซี่และดาวต่างๆ  ดังปัจจุบัน
6.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีอายุสั้นกว่า  คือ  ช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดง  (Red  giant)  โดยเป็นช่วงที่ดาวฤกษ์เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมครั้งใหม่  ทำให้ปล่อยพลังงานอย่างมหาศาลมีขนาดใหญ่ขึ้นหลายเท่า  ทำให้ผิวด้านนอกขยายตัว  อุณหภูมิพื้นที่ผิวลดลง  และเปลี่ยนเป็นสีแดง  ถือว่าเป็นช่วงที่ดาวฤกษ์ปล่อยพลังงานออกมาสูงมากจึงมีอายุสั้นๆ
7.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดพลังงานมหาศาล  คือ  ปฏิกิริยาฟิวชั่น  โดยเกิดจากโปรตอนหรือนิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน  4  นิวเคลียสหลอมรวมเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  1  นิวเคลียส  และเกิดพลังงานอีกจำนวนมหาศาล
8.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิของผิวดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง

9.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ในระบบสุริยะแบ่งพื้นที่รอบดวงอาทิตย์  4  เขต  คือ
  1. เขตดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  ประกอบด้วยดาวพุธ  ,  โลก  และดาวอังคาร
  2. แถบดาวเคราะห์น้อย  ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
  3. เขตดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือเรียกว่าดาวเคราะห์ยักษ์  เพราะมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน
  4. เขตนอกสุด  คือ  ดาวหาง
10.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          พายุสุริยะเกิดจากอนุภาคของโปรตอนและอิเล็กตรอน ที่ถูกปลดปล่อยมาจากดวง อาทิตย์จำนวนมาก  มีผลทำให้เกิดแสงเหนือ – แสงใต้  การเกิดไฟฟ้าแรงสูงบริเวณขั้วโลก  การทำให้การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นถูกรบกวน  และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมถูกทำลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น