วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบบทที่5

ข้อสอบบทที่5
1.  ดาวฤกษ์ที่มีอันดับความสว่างต่างกัน  4  จะมีความสว่างต่างกันประมาณกี่เท่า
1.    100   เท่า                                                                           2.    80   เท่า
3.    60   เท่า                                                                             4.    40   เท่า
2.  ชนิดของสเปกตรัมในข้อใดที่แสดงว่าเป็นดาวฤกษ์สีขาว  และอุณหภูมิของดาวที่  10,000 – 8,000  เคลวิน
1.    M                                                                                        2.    G
3.    A                                                                                         4.    O
3.  ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาหรือปรากฏการณ์ข้อใด
1.    การรวมตัวของนิวเครียว  H  เป็น  He                        2.    การแตกตัวของนิวเคลียสใหญ่
3.    การเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง                                              4.    การระเบิดอย่างต่อเนื่อง
4.  ข้อใดคือจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ
1.    เนบิวลา                                                                             2.    หลุมดำ
3.    ดาวแคระดำ                                                                      4.    ดาวยักษ์แดง
5.  ข้อใดที่เกิดจากลมสุริยะ
1.    การเกิดแสงออโรราแถบขั้วโลกเหนือและใต้            2.    วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมไหม้
3.    การติดต่อสื่อสารโดยเส้นใยนำแสงขัดข้อง                4.    เข็มทิศเบนไปมา
6.  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ในขณะที่ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   2  เท่า           2.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A   2  เท่า
3.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   6.3  เท่า       4.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A  6.3  เท่า
7.  ข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้งหมด
1.    ดาวเสาร์                   ดาวพฤหัสบดี          ดาวศุกร์
2.    ดาวพฤหัสบดี           ดาวอังคาร                 ดาวยูเรนัส
3.    ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส                 ดาวศุกร์
4.    ดาวเนปจูน                ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส
8.  ข้อใดเป็นสมบัติของ  “ดาวเคราะห์ยักษ์”  ของดวงอาทิตย์
1.    มีความหนาแน่นสูงมาก
2.    ประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
3.    มีแสงสว่างในตัวเอง
4.    ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่







 เฉลย
1.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)4
=             40           เท่า
2.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง
                                                               
3.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชั่น  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสไฮโดรเจน  (H)  4  นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  (He)  1  นิวเคลียส  พร้อมกับเกิดพลังงานจำนวนมหาศาล
4.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ  คือหลุมดำ  โดยเชื่อว่ามีการ เปลี่ยนแปลง  ดังนี้
ดาวฤกษ์ที่มวลมากๆ   ®   ดาวยักษ์แดง   ®   ซูเปอร์โนวา   ®   หลุมดำ
5.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคโปรตอน  และอิเล็กตรอนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และถ้าอนุภาคเหล่านี้ถูกปลดปล่อยมาจำนวนมากๆ  เรียกว่า  พายุสุริยะ  จะทำให้เกิดแสงออโรราบริเวณขั้วโลกเหนือ  และขั้วโลกใต้  เกิดการติดขัดทางการสื่อสาร  โดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก  วงจรอิเล็กตรอนในดาวเทียมเสียหาย
6.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีค่าอันดับความสว่างต่างกัน   =   4 – 2  เท่ากับ  2
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)2
=             6.3          เท่า
ดังนั้น  ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B                =             6.3          เท่า
7.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน
                                        ส่วนดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร
8.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ยักษ์หรือดาวเคราะห์ชั้นนอกมีองค์ประกอบหลัก  เช่น  ไฮโดรเจนและฮีเลียม  จนบางครั้งก็เรียกว่า  ดาวเคราะห์แก๊ส



1 ความคิดเห็น: