1เทือกเขาหิมาลัย เกิดจาปรากฏการณ์ทางธรณีภาคแบบใด
1. การเกิดแผ่นดินไหว 2. การแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก 4. การระเบิดของภูเขาไฟ2
หินชั้นหนึ่งมีการสะสมตัวเป็นชั้นๆ ของหินทราย หินกรวดมน หินปูน และหินดินดาน ดังรูป
หินชนิดใดมีอายุมากที่สุด
1. หินทราย
2. หินกรวดมน
3. หินปูน
4. หินดินดาน
3. ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหว อันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
1. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
2. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย
3. แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา
4. แผ่นแอนตาร์กติกากับแผ่นออสเตรเลีย – อินเดีย4
. ข้อใดคือสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
1. คลื่นสึนามิ 2. โลกหมุน
3. น้ำขึ้น – น้ำลง 4. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
5. ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในหินชนิดใด
1. หินแปร 2. หินอัคนี
3. หินชีสต์ 4. หินตะกอน
6. ชั้น “ฐานธรณีภาค” อยู่ตรงส่วนใดของโครงสร้างโลก
1. ชั้นเปลือกโลก 2. รอยต่อชั้นเปลือกโลกกับชั้นเนื้อโลก
3. ชั้นเนื้อโลก 4. รอยต่อชั้นเนื้อโลกกับชั้นแก่นโลก
7. พื้นที่ในข้อใดที่อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ”
1. แนวรอยต่อภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย 2. บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
3. บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด 4. บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรป
8. มาตราที่ใช้บอกความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวคือข้อใด
1. ริกเตอร์ 2. เมอร์คัลลี
3. โมห์ 4. เวนส์เวอร์ด
9. บริเวณหุบเขาทรุดตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวของขอบแผ่นธรณีภาค
ในลักษณะใดที่สำคัญ
1. เคลื่อนตัวหนีห่างออกจากกัน 2. เคลื่อนตัวเข้าหากัน
3. เคลื่อนตัวมุดลงไปใต้อีกแผ่น 4. เคลื่อนตัวเฉือนกัน
10การเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ส่วนใดของโครงสร้างโลก
1. ฐานธรณีภาค 2. ธรณีภาค
3. แก่นโลก 4. ชั้นของโครงสร้างโลกที่มีหินหลอมละลาย
เฉลย
1. เฉลยข้อ 3
เหตุผล เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แล้วอีกแผ่นหนึ่งมุดลงไปและอีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่ ทำให้เป็นเทือกเขาสูง แนวยาว เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาแอลป์
2. เฉลยข้อ 4
เหตุผล
หินชั้น หินตะกอนที่สะสมเป็นชั้นๆ ตามรูป หินที่อยู่ด้านล่างสุดมีอายุมากสุด หินที่อยู่ด้านบนสุดมีอายุน้อยสุดเนื่องจากเพิ่งเกิดการทับถม
3. เฉลยข้อ 2
เหตุผล ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เนื่องจากการกระทบกันหรือชนกันของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียกับออสเตรเลีย – อินเดีย
4. เฉลยข้อ 4
เหตุผล การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมีหลายแบบ เช่น เคลื่อนตัวเข้าหาชนกันและมุดลง หรือบางแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัวออกจาก หรือบางแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกันแล้วผ่านกัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนตัวแบบใดทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
5. เฉลยข้อ 4
เหตุผล ซากดึกดำบรรพ์ (Fossill) ทั้งพืชและสัตว์ที่พบจะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอนต่างๆ ขึ้นอยู่กับซากเหล่านั้นอยู่ในแหล่งของตะกอนอะไร ก็จะถูกฝังตัวอยู่ในหินตะกอนชนิดนั้นจนกระทั่งขุดพบ
6. เฉลยข้อ 3
เหตุผล
ฐานธรณีภาคจะอยู่ลึกประมาณ 100 – 350 กิโลเมตร จึงอยู่ในชั้นเนื้อโลก (mantel) ดังรูป
7. เฉลยข้อ 3
เหตุผล วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) จัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรงและมากสุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก ซึ่งเป็นแนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
8. เฉลยข้อ 2
เหตุผล มาตราที่ใช้บอกความเสียหายของแผ่นดินไหวที่นิยมมากสุด คือ มาตราเมอร์คัลลี
9. เฉลยข้อ 1
เหตุผล บริเวณหุบเขาทรุดตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทร เป็นการเคลื่อนตัวของขอบแผ่นธรณีภาคแยกตัวออกจากกัน
10. เฉลยข้อ 1
เหตุผล ชั้นธรณีภาคอยู่ในชั้นเนื้อโลกที่ลึกลงไป 100 – 350 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งเป็นหินหลอมละลายร้อน มีการหมุนวนตลอดเวลา เป็นผลทำให้การเปลี่ยนแปลงและเกิดแผ่นดินไหวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น