ข้อสอบบทที่1

ข้อสอบบทที่1
ข้อสอบบทที่1 เรื่องเเสงเหนือเเสงใต้



1.        ดาวเคราะห์ใดต่อไปนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดวงอื่น

1.    ดาวพฤหัสบดี                                                                   2.    ดาวศุกร์

3.    ดาวเสาร์                                                                            4.    ดาวเนปจูน

2.ดาวพฤหัสบดีมีองค์ประกอบหลักเป็นอะไร

1.    เหล็ก                                                                                  2.    ไฮโดรเจนและฮีเลียม

3.    หิน                                                                                     4.    แอมโมเนีย

3..ตามวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ในช่วงท้ายที่สุดจะเป็นอะไร

1.    ดาวแคระดำ                                                                      2.    ดาวแคระขาว

3.    หลุมดำ                                                                              4.    ดาวนิวตรอน

4.ตามหลักการจัดอันดับความสว่างของดาว  ดาวในข้อใดมีความสว่างมากที่สุด

1.    ดาว  A  มีอันดับความสว่าง  6                                     2.    ดาว  B  มีอันดับความสว่าง  1

3.    ดาว  C  มีอันดับความสว่าง  0                                     4.    ดาว  D  มีอันดับความสว่าง  -2

5.คำว่า  1  ปีแสง  หมายถึงอะไร

1.    ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง  1  ปี                         2.    ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก

3.    เวลาที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก                  4.    หน่วยของเวลาแบบหนึ่ง

6.สิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวฤกษ์ทุกดวงเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นตามข้อใด

1.    ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น                                                  2.    การระเบิดซูเปอร์โนวา

3.    การกลายสภาพเป็นดาวนิวตรอน                                 4.    มวลสลายไปหมด

7.ดาวฤกษ์ในข้อใด  ที่มีอุณหภูมิของผิวดาวต่ำที่สุด

1.    มีแสงสีน้ำเงิน                                                                  2.    มีแสงสีแดง

3.    มีแสงสีเหลือง                                                                  4.    มีแสงสีส้ม

8.ดาวศุกร์เมื่อสว่างน้อยที่สุดมีความสว่าง  -3.5  ดาวซีรีอุสมีอันดับความสว่าง  -1.5  ดาวศุกร์มีความสว่างมากกว่าดาวซีรีอุสกี่เท่า

1.    2.5                                                                                      2.    3.0

3.    6.25                                                                                    4.    15.6

9.ในคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส  เราสามารถมองเห็นแกแลกซีทางช้างเผือกซึ่งพาดผ่านเป็นแถบยาวขนาดความกว้าง  15  องศา  ถ้าต้องการประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่ง  ต้องใช้ข้อมูลจากข้อใดต่อไปนี้

1.    ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น                  2.    ความสว่างของดาวที่ขอบ

3.    อัตราการหมุนของแกแลกซี                                          4.    ดัชนีหักเหของแสงในอวกาศ

10.  ความพรุนของหินที่เกิดขึ้นภายหลังภูเขาไฟระเบิดขึ้นอยู่กับปัจจัยใด

1.    รูปร่างและความสูงของภูเขาไฟ                                  2.    ตำแหน่งของรอยแยกบนพื้น

3.    อัตราการเย็นตัวของลาวา                                               4.    องค์ประกอบทางเคมีของแมกมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลย

1.    เฉลยข้อ   2

เหตุผล              ดาวเคราะห์วงในมี  4  ดวง  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  และ ดาวอังคาร  ส่วนดาวเคราะห์วงนอกมี  4  ดวง  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ,  ดาวเสาร์  ,  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน  ดังนั้นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากสุดจะเรียงจากดาวเคราะห์  คือ  ดาวพุธ  และดาวศุกร์  ตามลำดับ  แต่ในข้อสอบไม่มีดาวพุธ

2.    เฉลยข้อ   2

เหตุผล                          ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือดาวเคราะห์ยักษ์  เนื่องจากมีขนาดใหญ่  องค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน  และฮีเลียม  มีสภาพแวดล้อมเย็นกว่า

3.    เฉลยข้อ   1

เหตุผล                          วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะเกิดแรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลดวงอาทิตย์สูงกว่าแรงดัน  เพราะธาตุไฮโดรเจนเหลือน้อยส่งผลให้แกนกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม  100  ล้านองศาเคลวิน  และทำให้ดวงอาทิตย์ขยายใหญ่ขึ้นกว่า เดิมเป็น  100  เท่า  ผิวด้านนอกขยายตัวอุณหภูมิลดลง  สีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงขนาดใหญ่  เรียกว่า  ดาวยักษ์แดง  และค่อยๆ  เป็นดาวแคระขาว  เพราะอุณหภูมิและความดันภายในลดลง  จนช่วงสุดท้ายกลายเป็นดาวแคระดำ

4.    เฉลยข้อ   4

เหตุผล                          การจัดอันดับค่าความสว่างของดาว  ถ้าอันดับความสว่าง  6  เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างริบหรี่ที่สุด  ส่วนอันดับความสว่าง  1  และ  0  จะสว่างมากกว่าอันดับความสว่าง  6  ส่วนอันดับความสว่างเป็นลบ  (-)  จะยิ่งมีความสว่างมากขึ้น  เช่น  อันดับความสว่าง  -2  ก็คือดาวพฤหัสบดีสว่างมาก

5.    เฉลยข้อ   1

เหตุผล                          1  ปีแสง  หมายถึง  ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทางเป็นเวลา  1  ปี  หรือมีค่าเท่ากับ  9.5  ล้านล้านกิโลเมตร

6.    เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ  จะกลายเป็นหลุมดำ

                                        วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลปานกลาง  จะกลายเป็นดาวนิวตรอน

วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะกลายเป็นดาวแคระดำ

 

7.    เฉลยข้อ   4

เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์ชนิดต่าง

 

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M
 
น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง
 
35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000
 
ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง

 

8.    เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          ดาวศุกร์มีอันดับความสว่าง  -3.5  ดาวซีรีอุสอันดับความสว่าง  -1.5

                                        ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีอันดับความสว่างต่างกัน     =     (-3.5)  –  (-1.5)

=     2

อันดับค่าความสว่างต่างกัน  1  ค่าความสว่างต่างกัน       =     (2.5)1   เท่า

=     (2.5)2     เท่า

=     6.25        เท่า

9.    เฉลยข้อ   1   

เหตุผล                          ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง  และดวงอาทิตย์อยู่ห่างจุดกึ่งกลางของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก  30,000  ปีแสง  จึงทำให้รู้ระยะทางขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปยังขอบข้างหนึ่งได้  จึงสามารถประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่งได้

10.  เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          ความพรุนของหินที่เกิดขึ้นหลังภูเขาไฟระเบิด  เกิดเนื่องจากการเย็นตัวและการแข็ง ตัวอย่างรวดเร็วของลาวา  ทำให้เต็มไปด้วยฟองก๊าซ  จึงมีน้ำหนักเบาจนบางชนิดสามารถลอยน้ำได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น