ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ คือ ระบบที่มี ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง และมีบริวาร คือ ดาวเคราะห์ 8 ดวง (ในอดีตมีการนับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 9 ดวง แต่มาในปี 2549 มีการตัดดาวพลูโตออกไปจากระบบ อ่านเพิ่มเติมในเรื่องดาวพลูโตด้านล่าง)
ถ้าให้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ดาวพุธและดาวศุกร์จัดเป็นดาวเคราะห์วงใน เพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าโลก จึงมีวงโคจรสั้นกว่า ส่วนดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน จัดเป็นดาวเคราะห์วงนอก เพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีวงโคจรยาวกว่าโลก
นอกจากนี้ ในระบบสุริยะยังประกอบด้วย ดวงจันทร์บริวารดาวเคราะห์ (Moon) ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet) ดาวเคราะห์น้อย(Minor Planet หรือ Asteroid) และดาวหาง (Comets) โดยบริวารทั้งหมด โคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่วนดาวตกหรือผีพุ่งใต้ และอุกกาบาตจะเกิดขึ้นในบรรยากาศของโลก
จักรวาล
หมายถึง ห้วงอวกาศที่บรรจุไว้ด้วยดวงดาวน้อยใหญ่ต่างๆ จำนวนมหาศาล ระหว่างดวงดาวก็มีก๊าซและฝุ่นผงเกาะกลุ่มกันบ้าง กระจายกันอยู่บ้าง บรรดาดวงดาวในจักรวาล จะไม่กระจายกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่จะร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ เรียกว่า กาแล็กซี (Galaxy) ดวงดาวทั้งหมดที่เรามองเห็นในท้องฟ้าล้วนแต่อยู่ในกาแล็กซีเดียวกัน มีชื่อเรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก
ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์
· ดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง
ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ถึง 108 เท่า ดวงอาทิตย์มีพลังงานดึงดูดซึ่งกันและกันกับดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง
ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ถึง 108 เท่า ดวงอาทิตย์มีพลังงานดึงดูดซึ่งกันและกันกับดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง
ชนิดของดาวฤกษ์ตามลักษณะที่ศึกษา
· ดาวเคราะห์ หมายถึง วัตถุท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) โดยที่ตัวมันเองไม่เป็นทั้งดาวฤกษ์และดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น เป็นดาวที่มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic balance) หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม ต้องไม่มีวงโคจรซ้อนทับหรือใกล้เคียงกับวัตถุอื่น นอกจากนี้ ดาวเคราะห์ยังเป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนพระอาทิตย์ส่องมายังตาเรา ดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มี 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์
บริวารของดวงอาทิตย์
บริวารของดวงอาทิตย์จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวง ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ
บริวารของดวงอาทิตย์จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวง ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ
1. ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์
ระบบของดวงดาวที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร 8 ดวง ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง เรียงลำดับจากดวงที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไปหาดวงที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนี้ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน
แต่เดิมระบบสุริยะมีการนับดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จนกระทั่งมีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ว่า ดาวพลูโตได้ถูกถอดออกจากออกจากหมู่ "ดาวเคราะห์ชั้นเอก" แห่งระบบสุริยะ หลังจากอยู่ในระบบมานานถึง 76 ปี โดยถูกจัดชั้นใหม่ให้เป็น "ดาวเคราะห์แคระ" เพราะดาวพลูโตแตกต่างจากดาวเคราะห์อีก 8 ดวงที่อยู่ในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์อีก 8 ดวง และดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ
ระบบของดวงดาวที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร 8 ดวง ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง เรียงลำดับจากดวงที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไปหาดวงที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนี้ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน
แต่เดิมระบบสุริยะมีการนับดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จนกระทั่งมีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ว่า ดาวพลูโตได้ถูกถอดออกจากออกจากหมู่ "ดาวเคราะห์ชั้นเอก" แห่งระบบสุริยะ หลังจากอยู่ในระบบมานานถึง 76 ปี โดยถูกจัดชั้นใหม่ให้เป็น "ดาวเคราะห์แคระ" เพราะดาวพลูโตแตกต่างจากดาวเคราะห์อีก 8 ดวงที่อยู่ในระบบมาก ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์อีก 8 ดวง และดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ
2. ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลก อยู่ห่างออกไป 238,900 ไมล์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,160 ไมล์ หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน ด้วยเหตุนี้เองคนบนโลกจึงเห็นผิวพื้นของดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ
ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง และไม่มีอากาศห่อหุ้มอยู่เลย ดังนั้น ในเวลากลางวันด้านที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีความร้อนมาก ขณะที่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จะไม่ได้รับแสงสว่าง จึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ไม่ได้
ดวงจันทร์มีการหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน คือ 27 วัน 7 ชม. 43 นาที จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียวเสมอ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ดวงจันทร์สาดส่องมายังผิวโลกเป็นแสงสะท้อนมาจากดวงอาทิตย์อีกต่อหนึ่ง พื้นผิวของดวงจันทร์ถ้าดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะพบว่า ไม่เรียบ เป็นผิวขรุขระ เต็มไปด้วยภูเขาสูงและหุบเหวลึก ซึ่งเป็นลักษณะของภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนนับไม่ถ้วนของดวงจันทร์ นอกจากนี้ตามผิวพื้นราบยังปรากฏเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่มหึมาอีกมากมาย ซึ่งเข้าใจกันว่าเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของสะเก็ดดาวนอกเวหาที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์
การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์นอกโลกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มนุษย์เราจึงใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องวัดเวลาในการทำปฏิทินทางจันทรคติ
ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกเมื่อมีการเคลื่อนที่สำคัญ 3 ประการคือ
ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลก อยู่ห่างออกไป 238,900 ไมล์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,160 ไมล์ หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน ด้วยเหตุนี้เองคนบนโลกจึงเห็นผิวพื้นของดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเสมอ
ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง และไม่มีอากาศห่อหุ้มอยู่เลย ดังนั้น ในเวลากลางวันด้านที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีความร้อนมาก ขณะที่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จะไม่ได้รับแสงสว่าง จึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ไม่ได้
ดวงจันทร์มีการหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในอัตราเร็วและเวลาเกือบเท่ากัน คือ 27 วัน 7 ชม. 43 นาที จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียวเสมอ อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ดวงจันทร์สาดส่องมายังผิวโลกเป็นแสงสะท้อนมาจากดวงอาทิตย์อีกต่อหนึ่ง พื้นผิวของดวงจันทร์ถ้าดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะพบว่า ไม่เรียบ เป็นผิวขรุขระ เต็มไปด้วยภูเขาสูงและหุบเหวลึก ซึ่งเป็นลักษณะของภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนนับไม่ถ้วนของดวงจันทร์ นอกจากนี้ตามผิวพื้นราบยังปรากฏเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่มหึมาอีกมากมาย ซึ่งเข้าใจกันว่าเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของสะเก็ดดาวนอกเวหาที่พุ่งเข้าชนดวงจันทร์
การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์นอกโลกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มนุษย์เราจึงใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องวัดเวลาในการทำปฏิทินทางจันทรคติ
ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกเมื่อมีการเคลื่อนที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. หมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 27 วัน 7 ชม. 43 นาที
2. โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 29.5 วัน (ราวๆ 1 เดือน) เท่ากัน
3. โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 12 เดือน
ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ (อยู่ห่างเพียงประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น) จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มนุษย์จึงใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำปฏิทินทางจันทรคติ การหมุนรอบตัวเองในขณะโคจรรอบโลกและดวงอาทิตย์ จะทำให้มีปรากฏการณ์กลางวันกลางคืนเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้ด้วย
นอกจากนี้ ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็มีเงาที่ทอดยาวไปในอวกาศ จนเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมื่อดวงจันทร์ทอดเงามาที่โลกมาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาพื้นโลก ทำให้พื้นที่บนโลกบริเวณใต้เงาของดวงจันทร์มืดลง เรียกว่า การเกิดสุริยุปราคา และเมื่อเงาของโลกทอดไปยังดวงจันทร์จนมืดสนิทมองไม่เห็นดวงจันทร์ เรียกว่า การเกิดจันทรุปราคา
3. ดาวเคราะห์แคระ
เป็นเทหวัตถุภายในระบบสุริยะที่มีคุณสมบัติ 4 ประการ
นอกจากนี้ ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็มีเงาที่ทอดยาวไปในอวกาศ จนเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ เมื่อดวงจันทร์ทอดเงามาที่โลกมาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาพื้นโลก ทำให้พื้นที่บนโลกบริเวณใต้เงาของดวงจันทร์มืดลง เรียกว่า การเกิดสุริยุปราคา และเมื่อเงาของโลกทอดไปยังดวงจันทร์จนมืดสนิทมองไม่เห็นดวงจันทร์ เรียกว่า การเกิดจันทรุปราคา
3. ดาวเคราะห์แคระ
เป็นเทหวัตถุภายในระบบสุริยะที่มีคุณสมบัติ 4 ประการ
· เป็นวัตถุที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
· มีมวลมากพอที่จะทำให้มีแรงดึงดูดจนตัววัตถุมีขนาดเกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์
· ไม่เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือเป็นบริวารของวัตถุท้องฟ้าอื่นใด (ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร)
· ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
ปัจจุบัน วัตถุท้องฟ้าที่ได้รับการรับรองว่า เป็นดาวเคราะห์แคระ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ดวง ได้แก่ พลูโต (Pluto) ซีเรส (Ceres) อีริส (Eris) เฮาเมอา (Haumea) มาคีมาคี (Makemake)
4. ดาวเคราะห์น้อย
เป็นวัตถุขนาดเล็กๆ จำนวนมากในระบบสุริยะ มีขนาดเท่าเม็ดฝุ่นจนถึงมีขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบพันกิโลเมตร ประกอบด้วย หินและโลหะ สันนิษฐานว่า เกิดจากการแตกกระจายของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในอดีต
ดาวเคราะห์น้อยเป็นบริวารของดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวดวงอื่นๆ โดยเกาะกันเป็นวงแหวนอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 – 354 กิโลเมตร
ดาวเคราะห์น้อยเราสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
เป็นวัตถุขนาดเล็กๆ จำนวนมากในระบบสุริยะ มีขนาดเท่าเม็ดฝุ่นจนถึงมีขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบพันกิโลเมตร ประกอบด้วย หินและโลหะ สันนิษฐานว่า เกิดจากการแตกกระจายของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในอดีต
ดาวเคราะห์น้อยเป็นบริวารของดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวดวงอื่นๆ โดยเกาะกันเป็นวงแหวนอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 – 354 กิโลเมตร
ดาวเคราะห์น้อยเราสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
· ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีเรส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ซีเรส ปัจจุบันซีรีสถูกเลื่อนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว
· ดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่ มีขนาดใหญ่กว่า และมีวงโคจรรูปรีมาก มีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนและดาวพลูโตออกไป
5. ดาวหาง (Comets)
เป็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่มีแสงในตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะโดยเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมาก ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหางและหัว แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์จึงจะมีหางและหัว หางจะยาวมากที่สุดเมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด หางของดาวหางจะหันออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เสมอ สิ่งที่ทำให้ดาวหางปรากฏมีหางขึ้นมากเพราะพลังงานจากดวงอาทิตย์ทั้งในรูปความร้อน ลมสุริยะ (อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่กระเด็นออกไปจากดวงอาทิตย์) และรังสี ซึ่งทำให้น้ำแข็งสกปรก ที่เป็นใจกลางหัวของดาวหางระเหิดกลายเป็นไอ พลังงานที่เป็นลมสุริยะ และรังสีจะผลักดันให้หางพุ่งออกไปจากดวงอาทิตย์ หางจะมีทั้งที่เป็นฝุ่น เป็นก๊าซ และโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า
อุกกาบาต (Meteors) เป็นวัตถุนอกโลกที่ถูกเผาไหม้ไม่หมดขณะผ่านบรรยากาศโลก และเหลือตกลงมาบนพื้นผิวโลก เรียกว่า อุกกาบาต แต่ถ้าถูกเผาไหม้หมดมองเห็นเป็นแสงวาบ เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต้ ถ้าอุกกาบาตโตมากจะทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตได้ บนดวงจันทร์มีหลุมอุกกาบาตเป็นจำนวนมากเพราะดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีลม ไม่มีฝนที่จะทำให้หลุมอุกกาบาตที่มีอยู่แล้วพังสลายไป ดาวพุธและดาวอังคารก็มีหลุมอุกกาบาตเช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น