วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

วิดีโอเรื่องสรุปโครงสร้างโลก


ข้อสอบบทที่5

ข้อสอบบทที่5
1.  ดาวฤกษ์ที่มีอันดับความสว่างต่างกัน  4  จะมีความสว่างต่างกันประมาณกี่เท่า
1.    100   เท่า                                                                           2.    80   เท่า
3.    60   เท่า                                                                             4.    40   เท่า
2.  ชนิดของสเปกตรัมในข้อใดที่แสดงว่าเป็นดาวฤกษ์สีขาว  และอุณหภูมิของดาวที่  10,000 – 8,000  เคลวิน
1.    M                                                                                        2.    G
3.    A                                                                                         4.    O
3.  ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาหรือปรากฏการณ์ข้อใด
1.    การรวมตัวของนิวเครียว  H  เป็น  He                        2.    การแตกตัวของนิวเคลียสใหญ่
3.    การเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง                                              4.    การระเบิดอย่างต่อเนื่อง
4.  ข้อใดคือจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ
1.    เนบิวลา                                                                             2.    หลุมดำ
3.    ดาวแคระดำ                                                                      4.    ดาวยักษ์แดง
5.  ข้อใดที่เกิดจากลมสุริยะ
1.    การเกิดแสงออโรราแถบขั้วโลกเหนือและใต้            2.    วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมไหม้
3.    การติดต่อสื่อสารโดยเส้นใยนำแสงขัดข้อง                4.    เข็มทิศเบนไปมา
6.  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ในขณะที่ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   2  เท่า           2.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A   2  เท่า
3.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   6.3  เท่า       4.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A  6.3  เท่า
7.  ข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้งหมด
1.    ดาวเสาร์                   ดาวพฤหัสบดี          ดาวศุกร์
2.    ดาวพฤหัสบดี           ดาวอังคาร                 ดาวยูเรนัส
3.    ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส                 ดาวศุกร์
4.    ดาวเนปจูน                ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส
8.  ข้อใดเป็นสมบัติของ  “ดาวเคราะห์ยักษ์”  ของดวงอาทิตย์
1.    มีความหนาแน่นสูงมาก
2.    ประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
3.    มีแสงสว่างในตัวเอง
4.    ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่







 เฉลย
1.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)4
=             40           เท่า
2.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง
                                                               
3.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชั่น  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสไฮโดรเจน  (H)  4  นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  (He)  1  นิวเคลียส  พร้อมกับเกิดพลังงานจำนวนมหาศาล
4.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ  คือหลุมดำ  โดยเชื่อว่ามีการ เปลี่ยนแปลง  ดังนี้
ดาวฤกษ์ที่มวลมากๆ   ®   ดาวยักษ์แดง   ®   ซูเปอร์โนวา   ®   หลุมดำ
5.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคโปรตอน  และอิเล็กตรอนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และถ้าอนุภาคเหล่านี้ถูกปลดปล่อยมาจำนวนมากๆ  เรียกว่า  พายุสุริยะ  จะทำให้เกิดแสงออโรราบริเวณขั้วโลกเหนือ  และขั้วโลกใต้  เกิดการติดขัดทางการสื่อสาร  โดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก  วงจรอิเล็กตรอนในดาวเทียมเสียหาย
6.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีค่าอันดับความสว่างต่างกัน   =   4 – 2  เท่ากับ  2
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)2
=             6.3          เท่า
ดังนั้น  ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B                =             6.3          เท่า
7.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน
                                        ส่วนดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร
8.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ยักษ์หรือดาวเคราะห์ชั้นนอกมีองค์ประกอบหลัก  เช่น  ไฮโดรเจนและฮีเลียม  จนบางครั้งก็เรียกว่า  ดาวเคราะห์แก๊ส



ข้อสอบบทที่4

ข้อสอบบทที่4
1.  ทำไมกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลสามารถเห็นดาวต่างๆ  ได้ชัดเจนกว่ากล้องอื่นๆ  บนโลกทั้งหมด
1.    เลนส์มีขนาดโตมากกว่า                                                2.    เลนส์มีคุณภาพดีมากกว่า
3.    มีเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ทันสมัยกว่า                      4.    อากาศหุ่มหุ้มโลกไม่รบกวน
2.  เชื้อเพลิงในข้อใดเหมาะสมที่จะใช้ในการส่งยานอวกาศมากที่สุด
1.    ออกซิเจนเหลว                                                                2.    เบนซินเกรดสูง
3.    ไนโตรเจนเหลวและออกซิเจน                                    4.    ไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว
3.  ข้อใดไม่อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า  “วงแหวนแห่งไฟ  (ring  of  fire)”
1.    บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด                      2.    บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย
3.    ประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด                                                     4.    บริเวณด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก
4.  หินของภูเขาใดต่อไปนี้ไม่ใช่หินภูเขาไฟ
1.    ภูเขาอังคาร  จังหวัดบุรีรัมย์                                          2.    ดอยผาคอกหินฟู  จังหวัดลำปาง
3.    ภูเขาพนมรุ้ง  จังหวัดบุรีรัมย์                                        4.    ภูชี้ฟ้า  จังหวัดเชียงราย
5.  ตามทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค  (plate  tectonics)  ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในทวีป  “กอนด์วานา”
1.    ทวีปแอฟริกา                                                                    2.    ทวีปอินเดีย
3.    ทวีปแอฟริกาเหนือ                                                         4.    ทวีปออสเตรเลีย
6.  การเกิดสึนามิเมื่อวันที่  26  ธันวาคม  2547  เกิดจากการชนของแผ่นทวีปใด
1.    ออสเตรเลีย – อินเดีย  กับ  แผ่นยูเรเซีย                     2.    แผ่นอินโดนีเซีย  กับ  แผ่นแปซิฟิก
3.    แผ่นยูเรเซีย  กับ  แผ่นแปซิฟิก                                    4.    แผ่นอินโดนีเซีย  กับ  แผ่นฟิลิปปินส์
7.  นักธรณีวิทยาใช้วิธีใดในการหาอายุหินตะกอน
1.    โดยใช้วิธีกัมมันตะรังสีหาอายุของหิน
2.    โดยการค้นหาซากดึกดำบรรพ์  เช่น  ไทโลโบต์
3.    ใช้กัมมันตภาพรังสี  C – 14  หาอายุซากดึกดำบรรพ์
4.    ใช้ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน
8.  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มเพิ่มจำนวนแฟมิลีอย่างรวดเร็วในยุคใด
1.    เทอร์เชียรี                                                                          2.    พรีแคมเบรียน
3.    ไซลูเรียน                                                                           4.    คาร์บอนนิฟอรัส
9.  การพบหลักฐานในข้อใดที่แสดงว่าในอดีตประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟในบางพื้นที่
1.    หินบะซอล์                                                                       2.    หินแกรนิต
3.    รอยแตกเลื่อนของชั้นหิน                                              4.    น้ำพุร้อน
10.  ธรณีภาคมีความหมายตรงตามข้อใด
1.    ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก                        2.    ชั้นเนื้อโลกส่วนล่างกับชั้นแก่นโลก
3.    ชั้นในเนื้อโลกทั้งหมดกับชั้นเปลือกโลก                   4.    ชั้นเปลือกโลกเพียงอย่างเดียว






เฉลย






1.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล  เป็นกล้องชนิดสะท้อนแสงที่ส่งไปกับยานขนส่งอวกาศดิสคัพเวอรี่  เมื่อปี  พ.ศ. 2533  ถือว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูง  เนื่องจากมีเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพที่ทันสมัยมาก  คือ  กล้องถ่ายภาพจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นกล้องมุมกว้าง  มีเครื่องตรวจวัดสเปกตรัมและเครื่องปรับทิศทางของกล้อง  อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถควบคุมการทำงานบนพื้นโลกได้  และสามารถส่องเห็นได้ไปไกลถึง  14,000  ปีแสง
2.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ในการส่งยานอวกาศเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขับดันเพื่อออกนอกโลกไปสู่อวกาศนั้น  เชื้อเพลิงที่เหมาะสมเป็นพวกเชื้อเพลิงเหลว  เพราะสามารถควบคุมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงได้  เนื่องจากสามารถแยกตัวเชื้อเพลิงซึ่งนิยมใช้เป็นไฮโดรเจนเหลว  กับก๊าซที่ช่วยให้ไฟติด  คือ  ออกซิเจนเหลวออกจากกันโดยแยกไว้คนละถัง
3.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          วงแหวนแห่งไฟ  (Ring  of  Fire)  เป็นแนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก  และขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น  ประเทศญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  ตะวันตกของประเทศเม็กซิโก  ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
                                        ดังนั้น  บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์  และภูเขาหิมาลัยไม่ได้อยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
4.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ภูเขาไฟในประเทศไทยที่สำรวจพบ  ได้แก่  ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู  จังหวัดลำปาง  และที่จังหวัดบุรีรัมย์  คือ  ภูพระอังคาร  และภูเขาพนมรุ้ง  บริเวณนี้จะพบปากปล่องภูเขาไฟ  และเป็นแหล่งที่พบหินภูเขาไฟที่ปะทุออกมา  ส่วนที่ภูชี้ฟ้าจังหวัดเชียงราย  ไม่มีภูเขาไฟจึงไม่มีหินปูนภูเขาไฟเกิดขึ้น
5.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แผ่นทวีปกอนด์วานา  เมื่อประมาณ  200  ล้านปี  อยู่ทางตอนใต้  จะประกอบด้วยทวีปอเมริกาใต้  ,  แอฟริกา  ,  อินเดีย  ,  แอนตาร์กติกา  ,  ออสเตรเลีย  ส่วนทวีปอเมริกาเหนืออยู่ในแผ่นทวีปลอเรเชีย



6.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          การเกิดสึนามิเมื่อวันที่  26  ธันวาคม  2547  ที่ทำให้เกิดผลกระทบหลายประเทศ  เกิดจากการชนกันของแผ่นทวีปออสเตรีย – อินเดียกับแผ่นยูเรเชีย
7.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          การหาอายุของหินตะกอน  และซากดึกดำบรรพ์  ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า  50,000  ล้านปี  นิยมใช้กัมมันตภาพรังสี  C – 14
8.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มเพิ่มจำนวนแฟมิลีอย่างรวดเร็ว  ในยุคเทอร์เชียรี  ซึ่งเป็นยุคที่หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไป
9.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟในบางพื้นที่  คือ  ที่จังหวัดลำปาง  และจังหวัดบุรีรัมย์  หลักฐานหนึ่งที่เชื่อว่ามีการระเบิดของภูเขาไฟคือ  หินบะซอลต์  ที่มีอายุ  1.8  ล้านปี  ถึง  10,000  ปีที่ผ่านมาแล้ว
10.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ธรณีภาค  คือ  ชั้นเปลือกโลกซึ่งมีความหนา  70  กิโลเมตร  และชั้นเนื้อโลกส่วนบน  ซึ่งมีความหนาประมาณ  30  กิโลเมตร  ดังนั้นชั้นธรณีภาคมีความหนา  0 – 100  กิโลเมตร