วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

วิดีโอเรื่องสรุปโครงสร้างโลก


ข้อสอบบทที่5

ข้อสอบบทที่5
1.  ดาวฤกษ์ที่มีอันดับความสว่างต่างกัน  4  จะมีความสว่างต่างกันประมาณกี่เท่า
1.    100   เท่า                                                                           2.    80   เท่า
3.    60   เท่า                                                                             4.    40   เท่า
2.  ชนิดของสเปกตรัมในข้อใดที่แสดงว่าเป็นดาวฤกษ์สีขาว  และอุณหภูมิของดาวที่  10,000 – 8,000  เคลวิน
1.    M                                                                                        2.    G
3.    A                                                                                         4.    O
3.  ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาหรือปรากฏการณ์ข้อใด
1.    การรวมตัวของนิวเครียว  H  เป็น  He                        2.    การแตกตัวของนิวเคลียสใหญ่
3.    การเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง                                              4.    การระเบิดอย่างต่อเนื่อง
4.  ข้อใดคือจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ
1.    เนบิวลา                                                                             2.    หลุมดำ
3.    ดาวแคระดำ                                                                      4.    ดาวยักษ์แดง
5.  ข้อใดที่เกิดจากลมสุริยะ
1.    การเกิดแสงออโรราแถบขั้วโลกเหนือและใต้            2.    วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมไหม้
3.    การติดต่อสื่อสารโดยเส้นใยนำแสงขัดข้อง                4.    เข็มทิศเบนไปมา
6.  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ในขณะที่ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   2  เท่า           2.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A   2  เท่า
3.    ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B   6.3  เท่า       4.    ดาว  B  มีความสว่างมากกว่าดาว  A  6.3  เท่า
7.  ข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้งหมด
1.    ดาวเสาร์                   ดาวพฤหัสบดี          ดาวศุกร์
2.    ดาวพฤหัสบดี           ดาวอังคาร                 ดาวยูเรนัส
3.    ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส                 ดาวศุกร์
4.    ดาวเนปจูน                ดาวเสาร์                    ดาวยูเรนัส
8.  ข้อใดเป็นสมบัติของ  “ดาวเคราะห์ยักษ์”  ของดวงอาทิตย์
1.    มีความหนาแน่นสูงมาก
2.    ประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
3.    มีแสงสว่างในตัวเอง
4.    ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่







 เฉลย
1.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)4
=             40           เท่า
2.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง
                                                               
3.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชั่น  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสไฮโดรเจน  (H)  4  นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  (He)  1  นิวเคลียส  พร้อมกับเกิดพลังงานจำนวนมหาศาล
4.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ  คือหลุมดำ  โดยเชื่อว่ามีการ เปลี่ยนแปลง  ดังนี้
ดาวฤกษ์ที่มวลมากๆ   ®   ดาวยักษ์แดง   ®   ซูเปอร์โนวา   ®   หลุมดำ
5.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคโปรตอน  และอิเล็กตรอนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และถ้าอนุภาคเหล่านี้ถูกปลดปล่อยมาจำนวนมากๆ  เรียกว่า  พายุสุริยะ  จะทำให้เกิดแสงออโรราบริเวณขั้วโลกเหนือ  และขั้วโลกใต้  เกิดการติดขัดทางการสื่อสาร  โดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก  วงจรอิเล็กตรอนในดาวเทียมเสียหาย
6.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          ดาว  B  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ดาว  A  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีค่าอันดับความสว่างต่างกัน   =   4 – 2  เท่ากับ  2
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)2
=             6.3          เท่า
ดังนั้น  ดาว  A  มีความสว่างมากกว่าดาว  B                =             6.3          เท่า
7.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน
                                        ส่วนดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร
8.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ยักษ์หรือดาวเคราะห์ชั้นนอกมีองค์ประกอบหลัก  เช่น  ไฮโดรเจนและฮีเลียม  จนบางครั้งก็เรียกว่า  ดาวเคราะห์แก๊ส



ข้อสอบบทที่4

ข้อสอบบทที่4
1.  ทำไมกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลสามารถเห็นดาวต่างๆ  ได้ชัดเจนกว่ากล้องอื่นๆ  บนโลกทั้งหมด
1.    เลนส์มีขนาดโตมากกว่า                                                2.    เลนส์มีคุณภาพดีมากกว่า
3.    มีเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ทันสมัยกว่า                      4.    อากาศหุ่มหุ้มโลกไม่รบกวน
2.  เชื้อเพลิงในข้อใดเหมาะสมที่จะใช้ในการส่งยานอวกาศมากที่สุด
1.    ออกซิเจนเหลว                                                                2.    เบนซินเกรดสูง
3.    ไนโตรเจนเหลวและออกซิเจน                                    4.    ไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว
3.  ข้อใดไม่อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า  “วงแหวนแห่งไฟ  (ring  of  fire)”
1.    บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด                      2.    บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย
3.    ประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด                                                     4.    บริเวณด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโก
4.  หินของภูเขาใดต่อไปนี้ไม่ใช่หินภูเขาไฟ
1.    ภูเขาอังคาร  จังหวัดบุรีรัมย์                                          2.    ดอยผาคอกหินฟู  จังหวัดลำปาง
3.    ภูเขาพนมรุ้ง  จังหวัดบุรีรัมย์                                        4.    ภูชี้ฟ้า  จังหวัดเชียงราย
5.  ตามทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค  (plate  tectonics)  ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในทวีป  “กอนด์วานา”
1.    ทวีปแอฟริกา                                                                    2.    ทวีปอินเดีย
3.    ทวีปแอฟริกาเหนือ                                                         4.    ทวีปออสเตรเลีย
6.  การเกิดสึนามิเมื่อวันที่  26  ธันวาคม  2547  เกิดจากการชนของแผ่นทวีปใด
1.    ออสเตรเลีย – อินเดีย  กับ  แผ่นยูเรเซีย                     2.    แผ่นอินโดนีเซีย  กับ  แผ่นแปซิฟิก
3.    แผ่นยูเรเซีย  กับ  แผ่นแปซิฟิก                                    4.    แผ่นอินโดนีเซีย  กับ  แผ่นฟิลิปปินส์
7.  นักธรณีวิทยาใช้วิธีใดในการหาอายุหินตะกอน
1.    โดยใช้วิธีกัมมันตะรังสีหาอายุของหิน
2.    โดยการค้นหาซากดึกดำบรรพ์  เช่น  ไทโลโบต์
3.    ใช้กัมมันตภาพรังสี  C – 14  หาอายุซากดึกดำบรรพ์
4.    ใช้ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน
8.  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มเพิ่มจำนวนแฟมิลีอย่างรวดเร็วในยุคใด
1.    เทอร์เชียรี                                                                          2.    พรีแคมเบรียน
3.    ไซลูเรียน                                                                           4.    คาร์บอนนิฟอรัส
9.  การพบหลักฐานในข้อใดที่แสดงว่าในอดีตประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟในบางพื้นที่
1.    หินบะซอล์                                                                       2.    หินแกรนิต
3.    รอยแตกเลื่อนของชั้นหิน                                              4.    น้ำพุร้อน
10.  ธรณีภาคมีความหมายตรงตามข้อใด
1.    ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก                        2.    ชั้นเนื้อโลกส่วนล่างกับชั้นแก่นโลก
3.    ชั้นในเนื้อโลกทั้งหมดกับชั้นเปลือกโลก                   4.    ชั้นเปลือกโลกเพียงอย่างเดียว






เฉลย






1.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล  เป็นกล้องชนิดสะท้อนแสงที่ส่งไปกับยานขนส่งอวกาศดิสคัพเวอรี่  เมื่อปี  พ.ศ. 2533  ถือว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูง  เนื่องจากมีเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพที่ทันสมัยมาก  คือ  กล้องถ่ายภาพจะควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นกล้องมุมกว้าง  มีเครื่องตรวจวัดสเปกตรัมและเครื่องปรับทิศทางของกล้อง  อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถควบคุมการทำงานบนพื้นโลกได้  และสามารถส่องเห็นได้ไปไกลถึง  14,000  ปีแสง
2.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ในการส่งยานอวกาศเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขับดันเพื่อออกนอกโลกไปสู่อวกาศนั้น  เชื้อเพลิงที่เหมาะสมเป็นพวกเชื้อเพลิงเหลว  เพราะสามารถควบคุมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงได้  เนื่องจากสามารถแยกตัวเชื้อเพลิงซึ่งนิยมใช้เป็นไฮโดรเจนเหลว  กับก๊าซที่ช่วยให้ไฟติด  คือ  ออกซิเจนเหลวออกจากกันโดยแยกไว้คนละถัง
3.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          วงแหวนแห่งไฟ  (Ring  of  Fire)  เป็นแนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก  และขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น  ประเทศญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  ตะวันตกของประเทศเม็กซิโก  ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
                                        ดังนั้น  บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์  และภูเขาหิมาลัยไม่ได้อยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
4.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ภูเขาไฟในประเทศไทยที่สำรวจพบ  ได้แก่  ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู  จังหวัดลำปาง  และที่จังหวัดบุรีรัมย์  คือ  ภูพระอังคาร  และภูเขาพนมรุ้ง  บริเวณนี้จะพบปากปล่องภูเขาไฟ  และเป็นแหล่งที่พบหินภูเขาไฟที่ปะทุออกมา  ส่วนที่ภูชี้ฟ้าจังหวัดเชียงราย  ไม่มีภูเขาไฟจึงไม่มีหินปูนภูเขาไฟเกิดขึ้น
5.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แผ่นทวีปกอนด์วานา  เมื่อประมาณ  200  ล้านปี  อยู่ทางตอนใต้  จะประกอบด้วยทวีปอเมริกาใต้  ,  แอฟริกา  ,  อินเดีย  ,  แอนตาร์กติกา  ,  ออสเตรเลีย  ส่วนทวีปอเมริกาเหนืออยู่ในแผ่นทวีปลอเรเชีย



6.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          การเกิดสึนามิเมื่อวันที่  26  ธันวาคม  2547  ที่ทำให้เกิดผลกระทบหลายประเทศ  เกิดจากการชนกันของแผ่นทวีปออสเตรีย – อินเดียกับแผ่นยูเรเชีย
7.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          การหาอายุของหินตะกอน  และซากดึกดำบรรพ์  ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า  50,000  ล้านปี  นิยมใช้กัมมันตภาพรังสี  C – 14
8.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มเพิ่มจำนวนแฟมิลีอย่างรวดเร็ว  ในยุคเทอร์เชียรี  ซึ่งเป็นยุคที่หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไป
9.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ประเทศไทยเคยมีภูเขาไฟในบางพื้นที่  คือ  ที่จังหวัดลำปาง  และจังหวัดบุรีรัมย์  หลักฐานหนึ่งที่เชื่อว่ามีการระเบิดของภูเขาไฟคือ  หินบะซอลต์  ที่มีอายุ  1.8  ล้านปี  ถึง  10,000  ปีที่ผ่านมาแล้ว
10.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ธรณีภาค  คือ  ชั้นเปลือกโลกซึ่งมีความหนา  70  กิโลเมตร  และชั้นเนื้อโลกส่วนบน  ซึ่งมีความหนาประมาณ  30  กิโลเมตร  ดังนั้นชั้นธรณีภาคมีความหนา  0 – 100  กิโลเมตร

ข้อสอบบทที่3

1.  การหาอายุสัมบูรณ์ของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ทางธรณีวิทยาใช้วิธีการใด
1.    วิธีการหาอายุทางกัมมันตรังสี
2.    ตรวจสอบเปรียบเทียบกับฟอสซิลอื่นๆ
3.    ตรวจสอบจากลำดับชั้นหินและความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา
4.    วิธีการทางรังสีเอกซ์
2.  ทดลองหยดกรดเกลือเจือจางลงบนหินชนิดหนึ่งแล้วจะเกิดฟองขึ้น  แสดงว่าเป็นหินชนิดใด
1.    หินทราย                                                                            2.    หินดินดาน
3.    หินปูน                                                                               4.    หินแกรนิต
3.  ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบในหินชนิดใด
1.    หินทราย                                                                            2.    หินปูน
3.    หินบะซอลต์                                                                     4.    หินดินดาน
4.  ปรากฏการณ์ใดที่สนับสนุน  “ทฤษฎีบิกแบง”
1.    การชนกันของดาวหางกับดาวเคราะห์                       2.    การขยายตัวของเอกภพ
3.    การเกิดลมสุริยะ                                                              4.    การยุบตัวของดาวฤกษ์
5.  หลังเกิดบิกแบงปริมาณอนุภาคกับปริมาณปฏิอนุภาคควรเป็นตามข้อใด  จึงเกิดกาแล็กซีและดาวต่าง ๆ
ขึ้นดังที่เป็นอยู่
1.    มีปริมาณเท่ากัน                                                               2.    อนุภาคมีปริมาณมากกว่า
3.    ปฏิอนุภาคมีปริมาณมากกว่า                                         4.    เป็นไปได้ทุกข้อ
6.  ในวิวัฒนาการของดาวฤกษ์  ช่วงเวลาในข้อใดเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุด
1.    ดาวยักษ์แดง                                                                     2.    ดาวแคระขาว
3.    ดาวแคระดำ                                                                      4.    เนบิวลา7.  ปฏิกิริยาในข้อใดเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์
1.    ฟิวชัน                                                                                2.    ฟิชชัน
3.    ซูเปอร์โนวา                                                                      4.    ออโรรา
8.  ดาวฤกษ์ชนิดใดในข้อต่อไปนี้มีอุณหภูมิผิวสูงที่สุด
1.    ดาวที่มีสีแดง                                                                    2.    ดาวที่มีสีเหลือง
3.    ดาวที่มีสีน้ำเงิน                                                                4.    ดาวที่มีสีขาว
9.  ในระบบสุริยะ  แถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในบริเวณใด
1.    อยู่ระหว่างแถบดาวเคราะห์ชั้นในกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
2.    อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นในกับเขตของดาวหาง
3.    อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นนอกกับเขตของดาวหาง
4.    อยู่แถบนอกสุดของระบบสุริยะ
10.  ข้อใดไม่ได้เกิดจากพายุสุริยะ
1.    การเกิดแสงเหนือแสงใต้                                               2.    วงจรอิเล็กทรอนิกส์บนดาวเทียมเสียหาย
3.    การเกิดฝนดาวตก                                                            4.    การติดต่อสื่อสารโดยวิทยุคลื่นสั้นขัดข้อง










เฉลย
1.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          การหาอายุสัมบูรณ์เป็นการคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหินหรือซากดึกดำบรรพ์  จึงเป็นวิธีบอกอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างแน่นอน
2.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          การหยดกรดเกลือ  (HCl)  เจือจางลงบนหินชนิดหนึ่งแล้วทำปฏิกิริยาเคมีเป็นฟองก๊าซ  แสดงว่าหินนั้นเป็นหินปูน  (CaCO3)  เนื่องจากสารละลายกรดทุกชนิดทำปฏิกิริยากับหินปูนจะเกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในชั้นหินทราย  และหินทรายแป้ง  ซึ่งเป็นหินที่อยู่ในยุคของยุคไทรแอสลิกตอนปลาย  โดยมีอายุประมาณ  200 – 100  ล้านปีที่ผ่านมาแล้ว
4.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          ปรากฏการณ์ที่สนับสนุน  “ทฤษฎีบิกแบง”  มีด้วยกัน  2  อย่าง  คือ
  1. การขายของเอกภพ  ซึ่งเป็นการศึกษาและค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน  ชื่อ  เอ็ดวิน  พี  ฮับเบิล
  2. อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพปัจจุบันลดลงเหลือ  2.73  องศาเคลวิน
5.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          ขณะที่เกิดบิกแบง  จะมีเนื้อสารที่เกิดในลักษณะอนุภาคพื้นฐาน  คือ  ควาร์ก  อิเล็กตรอน  นิวทริโอ  และโฟตอน  ซึ่งเป็นพลังงาน  โดยขณะที่เกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิ-อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม  หลังจากที่บิกแบงแล้วอนุภาคจะมีมากกว่าปฏิอนุภาค  นอกจากกลายเป็นพลังงานแล้วยังมีอนุภาคบางส่วนที่เหลือก่อกำเนิดเป็นสาร  ทำให้รวม ตัวเป็นกาแล็กซี่และดาวต่างๆ  ดังปัจจุบัน
6.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีอายุสั้นกว่า  คือ  ช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดง  (Red  giant)  โดยเป็นช่วงที่ดาวฤกษ์เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมครั้งใหม่  ทำให้ปล่อยพลังงานอย่างมหาศาลมีขนาดใหญ่ขึ้นหลายเท่า  ทำให้ผิวด้านนอกขยายตัว  อุณหภูมิพื้นที่ผิวลดลง  และเปลี่ยนเป็นสีแดง  ถือว่าเป็นช่วงที่ดาวฤกษ์ปล่อยพลังงานออกมาสูงมากจึงมีอายุสั้นๆ
7.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดพลังงานมหาศาล  คือ  ปฏิกิริยาฟิวชั่น  โดยเกิดจากโปรตอนหรือนิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน  4  นิวเคลียสหลอมรวมเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  1  นิวเคลียส  และเกิดพลังงานอีกจำนวนมหาศาล
8.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิของผิวดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง

9.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ในระบบสุริยะแบ่งพื้นที่รอบดวงอาทิตย์  4  เขต  คือ
  1. เขตดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  ประกอบด้วยดาวพุธ  ,  โลก  และดาวอังคาร
  2. แถบดาวเคราะห์น้อย  ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
  3. เขตดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือเรียกว่าดาวเคราะห์ยักษ์  เพราะมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน
  4. เขตนอกสุด  คือ  ดาวหาง
10.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          พายุสุริยะเกิดจากอนุภาคของโปรตอนและอิเล็กตรอน ที่ถูกปลดปล่อยมาจากดวง อาทิตย์จำนวนมาก  มีผลทำให้เกิดแสงเหนือ – แสงใต้  การเกิดไฟฟ้าแรงสูงบริเวณขั้วโลก  การทำให้การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นถูกรบกวน  และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมถูกทำลาย

ข้อสอบบทที่2

ข้อสอบบทที่2


1เทือกเขาหิมาลัย  เกิดจาปรากฏการณ์ทางธรณีภาคแบบใด
1.    การเกิดแผ่นดินไหว                    2.    การแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
3.    การชนกันของแผ่นเปลือกโลก                 4.    การระเบิดของภูเขาไฟ2
  หินชั้นหนึ่งมีการสะสมตัวเป็นชั้นๆ  ของหินทราย  หินกรวดมน  หินปูน  และหินดินดาน  ดังรูป
หินชนิดใดมีอายุมากที่สุด





1.    หินทราย
2.    หินกรวดมน
3.    หินปูน
4.    หินดินดาน


3.  ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหว  อันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
1.    แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
2.    แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย
3.    แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา


4.    แผ่นแอนตาร์กติกากับแผ่นออสเตรเลีย – อินเดีย4
.  ข้อใดคือสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
1.    คลื่นสึนามิ                      2.    โลกหมุน
3.    น้ำขึ้น – น้ำลง                4.    การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
5.  ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในหินชนิดใด
1.    หินแปร                                                2.    หินอัคนี
3.    หินชีสต์                                              4.    หินตะกอน
6.  ชั้น  “ฐานธรณีภาค”  อยู่ตรงส่วนใดของโครงสร้างโลก
1.    ชั้นเปลือกโลก                      2.    รอยต่อชั้นเปลือกโลกกับชั้นเนื้อโลก
3.    ชั้นเนื้อโลก                             4.    รอยต่อชั้นเนื้อโลกกับชั้นแก่นโลก
7.  พื้นที่ในข้อใดที่อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า  “วงแหวนแห่งไฟ”
1.    แนวรอยต่อภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย      2.    บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
3.    บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด      4.    บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรป
8.  มาตราที่ใช้บอกความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวคือข้อใด
1.    ริกเตอร์                                                 2.    เมอร์คัลลี
3.    โมห์                                                           4.    เวนส์เวอร์ด
9.  บริเวณหุบเขาทรุดตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวของขอบแผ่นธรณีภาค
ในลักษณะใดที่สำคัญ
1.    เคลื่อนตัวหนีห่างออกจากกัน                    2.    เคลื่อนตัวเข้าหากัน
3.    เคลื่อนตัวมุดลงไปใต้อีกแผ่น                     4.    เคลื่อนตัวเฉือนกัน

10การเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ส่วนใดของโครงสร้างโลก
  1.    ฐานธรณีภาค                                               2.    ธรณีภาค
3.    แก่นโลก                        4.    ชั้นของโครงสร้างโลกที่มีหินหลอมละลาย













เฉลย
1.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก  แล้วอีกแผ่นหนึ่งมุดลงไปและอีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่  ทำให้เป็นเทือกเขาสูง  แนวยาว  เช่น  เทือกเขาหิมาลัย  เทือกเขาแอลป์
2.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                         
หินชั้น  หินตะกอนที่สะสมเป็นชั้นๆ  ตามรูป  หินที่อยู่ด้านล่างสุดมีอายุมากสุด  หินที่อยู่ด้านบนสุดมีอายุน้อยสุดเนื่องจากเพิ่งเกิดการทับถม
3.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว  เนื่องจากการกระทบกันหรือชนกันของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียกับออสเตรเลีย – อินเดีย
4.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกมีหลายแบบ  เช่น  เคลื่อนตัวเข้าหาชนกันและมุดลง  หรือบางแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัวออกจาก  หรือบางแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกันแล้วผ่านกัน  ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนตัวแบบใดทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
5.  เฉลยข้อ   4
เหตุผล                          ซากดึกดำบรรพ์  (Fossill)  ทั้งพืชและสัตว์ที่พบจะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอนต่างๆ  ขึ้นอยู่กับซากเหล่านั้นอยู่ในแหล่งของตะกอนอะไร  ก็จะถูกฝังตัวอยู่ในหินตะกอนชนิดนั้นจนกระทั่งขุดพบ
6.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล         
                                        ฐานธรณีภาคจะอยู่ลึกประมาณ  100 – 350  กิโลเมตร  จึงอยู่ในชั้นเนื้อโลก  (mantel)  ดังรูป       
7.  เฉลยข้อ   3
เหตุผล                          วงแหวนแห่งไฟ  (Ring  of  Fire)  จัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรงและมากสุด  คิดเป็นร้อยละ  80  ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก  ซึ่งเป็นแนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก  เป็นบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
8.  เฉลยข้อ   2
เหตุผล                          มาตราที่ใช้บอกความเสียหายของแผ่นดินไหวที่นิยมมากสุด  คือ  มาตราเมอร์คัลลี
9.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          บริเวณหุบเขาทรุดตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทร  เป็นการเคลื่อนตัวของขอบแผ่นธรณีภาคแยกตัวออกจากกัน
10.  เฉลยข้อ   1
เหตุผล                          ชั้นธรณีภาคอยู่ในชั้นเนื้อโลกที่ลึกลงไป  100 – 350  กิโลเมตรจากพื้นโลก  ซึ่งเป็นหินหลอมละลายร้อน  มีการหมุนวนตลอดเวลา  เป็นผลทำให้การเปลี่ยนแปลงและเกิดแผ่นดินไหวได้

ข้อสอบบทที่1

ข้อสอบบทที่1 เรื่องเเสงเหนือเเสงใต้



1.        ดาวเคราะห์ใดต่อไปนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดวงอื่น

1.    ดาวพฤหัสบดี                                                                   2.    ดาวศุกร์

3.    ดาวเสาร์                                                                            4.    ดาวเนปจูน

2.ดาวพฤหัสบดีมีองค์ประกอบหลักเป็นอะไร

1.    เหล็ก                                                                                  2.    ไฮโดรเจนและฮีเลียม

3.    หิน                                                                                     4.    แอมโมเนีย

3..ตามวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ในช่วงท้ายที่สุดจะเป็นอะไร

1.    ดาวแคระดำ                                                                      2.    ดาวแคระขาว

3.    หลุมดำ                                                                              4.    ดาวนิวตรอน

4.ตามหลักการจัดอันดับความสว่างของดาว  ดาวในข้อใดมีความสว่างมากที่สุด

1.    ดาว  A  มีอันดับความสว่าง  6                                     2.    ดาว  B  มีอันดับความสว่าง  1

3.    ดาว  C  มีอันดับความสว่าง  0                                     4.    ดาว  D  มีอันดับความสว่าง  -2

5.คำว่า  1  ปีแสง  หมายถึงอะไร

1.    ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง  1  ปี                         2.    ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก

3.    เวลาที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก                  4.    หน่วยของเวลาแบบหนึ่ง

6.สิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวฤกษ์ทุกดวงเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นตามข้อใด

1.    ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น                                                  2.    การระเบิดซูเปอร์โนวา

3.    การกลายสภาพเป็นดาวนิวตรอน                                 4.    มวลสลายไปหมด

7.ดาวฤกษ์ในข้อใด  ที่มีอุณหภูมิของผิวดาวต่ำที่สุด

1.    มีแสงสีน้ำเงิน                                                                  2.    มีแสงสีแดง

3.    มีแสงสีเหลือง                                                                  4.    มีแสงสีส้ม

8.ดาวศุกร์เมื่อสว่างน้อยที่สุดมีความสว่าง  -3.5  ดาวซีรีอุสมีอันดับความสว่าง  -1.5  ดาวศุกร์มีความสว่างมากกว่าดาวซีรีอุสกี่เท่า

1.    2.5                                                                                      2.    3.0

3.    6.25                                                                                    4.    15.6

9.ในคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส  เราสามารถมองเห็นแกแลกซีทางช้างเผือกซึ่งพาดผ่านเป็นแถบยาวขนาดความกว้าง  15  องศา  ถ้าต้องการประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่ง  ต้องใช้ข้อมูลจากข้อใดต่อไปนี้

1.    ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น                  2.    ความสว่างของดาวที่ขอบ

3.    อัตราการหมุนของแกแลกซี                                          4.    ดัชนีหักเหของแสงในอวกาศ

10.  ความพรุนของหินที่เกิดขึ้นภายหลังภูเขาไฟระเบิดขึ้นอยู่กับปัจจัยใด

1.    รูปร่างและความสูงของภูเขาไฟ                                  2.    ตำแหน่งของรอยแยกบนพื้น

3.    อัตราการเย็นตัวของลาวา                                               4.    องค์ประกอบทางเคมีของแมกมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลย

1.    เฉลยข้อ   2

เหตุผล              ดาวเคราะห์วงในมี  4  ดวง  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  และ ดาวอังคาร  ส่วนดาวเคราะห์วงนอกมี  4  ดวง  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ,  ดาวเสาร์  ,  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน  ดังนั้นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากสุดจะเรียงจากดาวเคราะห์  คือ  ดาวพุธ  และดาวศุกร์  ตามลำดับ  แต่ในข้อสอบไม่มีดาวพุธ

2.    เฉลยข้อ   2

เหตุผล                          ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือดาวเคราะห์ยักษ์  เนื่องจากมีขนาดใหญ่  องค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน  และฮีเลียม  มีสภาพแวดล้อมเย็นกว่า

3.    เฉลยข้อ   1

เหตุผล                          วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะเกิดแรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลดวงอาทิตย์สูงกว่าแรงดัน  เพราะธาตุไฮโดรเจนเหลือน้อยส่งผลให้แกนกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม  100  ล้านองศาเคลวิน  และทำให้ดวงอาทิตย์ขยายใหญ่ขึ้นกว่า เดิมเป็น  100  เท่า  ผิวด้านนอกขยายตัวอุณหภูมิลดลง  สีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงขนาดใหญ่  เรียกว่า  ดาวยักษ์แดง  และค่อยๆ  เป็นดาวแคระขาว  เพราะอุณหภูมิและความดันภายในลดลง  จนช่วงสุดท้ายกลายเป็นดาวแคระดำ

4.    เฉลยข้อ   4

เหตุผล                          การจัดอันดับค่าความสว่างของดาว  ถ้าอันดับความสว่าง  6  เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างริบหรี่ที่สุด  ส่วนอันดับความสว่าง  1  และ  0  จะสว่างมากกว่าอันดับความสว่าง  6  ส่วนอันดับความสว่างเป็นลบ  (-)  จะยิ่งมีความสว่างมากขึ้น  เช่น  อันดับความสว่าง  -2  ก็คือดาวพฤหัสบดีสว่างมาก

5.    เฉลยข้อ   1

เหตุผล                          1  ปีแสง  หมายถึง  ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทางเป็นเวลา  1  ปี  หรือมีค่าเท่ากับ  9.5  ล้านล้านกิโลเมตร

6.    เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ  จะกลายเป็นหลุมดำ

                                        วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลปานกลาง  จะกลายเป็นดาวนิวตรอน

วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะกลายเป็นดาวแคระดำ

 

7.    เฉลยข้อ   4

เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์ชนิดต่าง

 

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์
O
B
A
F
G
K
M
 
น้ำเงิน – ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง – ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง
 
35,000
25,000 – 12,000
10,000 – 8,000
7,500 – 6,000
6,000 – 4,200
5,000 – 3,000
3,200 – 3,000
 
ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง

 

8.    เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          ดาวศุกร์มีอันดับความสว่าง  -3.5  ดาวซีรีอุสอันดับความสว่าง  -1.5

                                        ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีอันดับความสว่างต่างกัน     =     (-3.5)  –  (-1.5)

=     2

อันดับค่าความสว่างต่างกัน  1  ค่าความสว่างต่างกัน       =     (2.5)1   เท่า

=     (2.5)2     เท่า

=     6.25        เท่า

9.    เฉลยข้อ   1   

เหตุผล                          ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง  และดวงอาทิตย์อยู่ห่างจุดกึ่งกลางของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก  30,000  ปีแสง  จึงทำให้รู้ระยะทางขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปยังขอบข้างหนึ่งได้  จึงสามารถประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่งได้

10.  เฉลยข้อ   3

เหตุผล                          ความพรุนของหินที่เกิดขึ้นหลังภูเขาไฟระเบิด  เกิดเนื่องจากการเย็นตัวและการแข็ง ตัวอย่างรวดเร็วของลาวา  ทำให้เต็มไปด้วยฟองก๊าซ  จึงมีน้ำหนักเบาจนบางชนิดสามารถลอยน้ำได้